วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550

เทคโนโลยีทางการศึกษา

...............ความหมายของสื่อการเรียนการสอน..........
...............การเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยมีตัวกลาง
เรียกว่า " สื่อการเรียนการสอน " ช่วยในการถ่ายทอดสาระการเรียนรู้ต่างๆ
...............ทบวงมหาวิทยาลัย (2546) นิยามว่า "เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม สื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาตามความหมายของทบวงมหาวิทยาลัยนั้น โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ได้เต็มตามศักยภาพ ปราศจากข้อจำกัดด้านโอกาส ถิ่นที่อยู่ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
.............."เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" ตามความหมายของร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติ หมายถึง การนำสื่อตัวนำ คลื่นความถี่ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการแพร่เสียง ภาพ และการสื่อสารในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ทั้งการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยครอบคลุมสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม สื่อโสตทัศน์ แบบเรียน ตำรา หนังสือทางวิชาการและแหล่งการเรียนรู้หรือเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่นตามที่คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาแห่งชาติกำหนด
............เนื่องจากเทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)เป็นสาขาที่รวมเอาแนวคิดของสาขาอืนๆหลากหลายสาขาเข้ารวมอยู่ด้วยกันดังนั้นแนวคิดต่อไปนี้เป็นคำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาสมบูรณ์

...........1.เทคโนโลยีการศึกษา คือกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการที่เกี่ยวกับคน การดำเนินการ ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหา และการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทั้งปวงของมนุษย์
ในเทคโนโลยีการศึกษา นั้นขอบข่ายหนึ่งคือ ทรัพยากรการเรียน (Learning Resources)" ซึ่งได้รับการออก
แบบ และ/หรือ เลือก และ/หรือใช้เพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ ทรัพยากรเหล่านี้ได้แก่ ข้อมูล ข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิค (Techniques) และสภาพแวดล้อม (Settings)
กระบวนการสำหรับวิเคราะห์ปัญหา และประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ และการประเมินคือหน้าที่การพัฒนาการศึกษาของการวิจัย-ทฤษฎี การออกแบบ การผลิต การประเมิน-เลือก การเอื้ออำนวย การใช้และการใช้-แจกจ่ายเผยแพร่
กระบวนการของการควบคุมกำกับการหรือการประสานสัมพันธ์หน้าที่ต่าง ๆ เหล่านี้คือหน้าที่การจัดการศึกษา (Educational Management Functions) ของการจัดการองค์กร และการจัดการบุคลากร (Organization Management and Personnel Management) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ แสดงให้เห็นในแบบจำลองของขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดของสมาคมนักเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ( AECT)ต่อไปนี้
...........- เทคโนโลยีการศึกษาเป็นทฤษฏีหนึ่งเกี่ยวกับการอธิบาย และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์
...........- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นสาขาวิชาการสาขาหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียดซับซ้อนมีบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์
...........- เทคโนโลยีการศึกษา เป็นวิชาชีพขั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยความพยายามที่เป็นระบบเพื่อปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา
...........2. เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) แตกต่างจากเทคโนโลยีในทางการศึกษา (Technology in Education)
เทคโนโลยีในทางการศึกษาเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสำหรับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของสถาบันต่างๆ ที่จัดการกิจการทางการศึกษา รวมทั้งการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านอาหาร สุขภาพ อนามัย การเงิน การจัดเวลา การรายงานผลการเรียน และกระบวนการอื่น ซึ่งใช้เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาในสถาบันนั้น ดังนั้นเทคโนโลยีในทางการศึกษาจึงไม่เหมือนกับเทคโนโลยีการศึกษา
..........3. เทคโนโลยีการศึกษาแตกต่างจากเทคโนโลยีการสอน
เทคโนโลยีการสอนเป็นเซทย่อยของเทคโนโลยีการศึกษาตามพื้นฐานหลักการความคิดรวบยอดที่ว่า "การสอนเป็นเซทย่อยของการศึกษา" เทคโนโลยีการสอนเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดซับซ้อน และมีบูรณาการเกี่ยวกับคน ดำเนินงาน ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ การประเมิน และการจัดการคำตอบต่อปัญหาเหล่านั้น ในสถานการณ์การเรียนที่การเรียนรู้มีการกำหนดจุดมุ่งหมายและมีการควบคุมกำกับการ ในเทคโนโลยีการสอนนั้น คำตอบสำหรับปัญหาจะอยู่ในรูปแบบ "องค์ประกอบระบบการเรียนการสอน" (Instructional System Components)" ซึ่งได้รับการจัดทำเค้าโครงล่วงหน้าในการออกแบบหรือการเลือกและการใช้ และได้รับการรวบรวมเป็นระบบการเรียนการสอนที่สมบูรณ์แบบ องค์ประกอบเหล่านี้คือ ข้อมูลข่าวสาร (Messages) คน (People) วัสดุ (Materials) เครื่องมือ (Devices) เทคนิค (Techniques) และสภาพแวดล้อม (Settings) กระบวนการเพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์/สร้าง การปรับใช้ และการประเมินคำตอบ ต่อปัญหาเหล่านั้นคือ "หน้าที่การพัฒนาการเรียนการสอน (Instructional Development Functions) ของการจัดการองค์กรและการจัดการบริหารงานบุคลากร ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ แสดงอยู่ในแบบจำลองขอบข่ายของเทคโนโลยีการเรียนการสอน (Domain of Instructional Technology Model)
คำจำกัดความขององค์ประกอบต่างๆ ในแบบจำลองขอบข่ายของเทคโนโลยีการเรียนการสอน
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกสิ่งของเทคโนโลยีการสอนใช้ได้เหมาะสมกับขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ถ้าเทคโนโลยีการสอน ได้รับการใช้และปฏิบัติการได้ก็สามารถปรับใขช้กับเทคโนโลยีการศึกษาได้แต่ในทางกลับกันจะไม่เป็นความจริง เพราะว่าในเทคโนโลยีการศึกษานั้นหน้าที่พัฒนาการ และจัดการนั้นมีการรวมองค์ประกอบมากกว่าเพราะว่าประยุกต์ใช้ทรัพยากรการเรียนที่กว้างขวางกว่าองค์ประกอบระบบการเรียนการสอนโดยที่เทคโนโลยีการศึกษาจะรวมทรัพยากรทั้งหมดซึ่งใช้เอื้ออำนวยการเรียน
...........4. คำนิยามของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งขึ้นเป็นทฤษฎีได้เพราะว่าถึงเกณฑ์ข้อกำหนดดังนี้
..........1) ความมีอยู่ของปรากฏการณ์/วัตถุ
..........2) มีคำอธิบาย
..........3) มีการสรุป
..........4) มีการนิเทศ
..........5) มีการจัดระบบ
..........6) มีคำอธิบายช่องโหว่ส่วนที่ละเลยหรือยังไม่กระจ่าง
..........7) มียุทธิวิธีเพื่อการวิจัยศึกษาค้นคว้า
..........8) มีคำทำนายผล
..........9) มีหลักการหรือชุดของหลักการ

...........5. เทคโนโลยีการศึกษามีเทคนิคเชิงวิชาการที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ซึ่งเป็นวิธีระบบเพื่อการแก้ปัญหา ในหน้าที่พัฒนาการและการจัดการแต่ละชนิดนั้น จะมีเทคนิคเชิง "ปัญญา" รวมอยู่ด้วย เทคนิคเชิง "ปัญญา" ของเทคโนโลยีการศึกษานี้มีความหมายมากกว่าผลรวมของส่วนต่างๆ เหล่านั้น มันจะรวมถึงระบบบูรณาการเทคโนโลยีแต่ละชนิดของหน้าที่เหล่านั้น และความสัมพันธ์ภายในของมัน จนเป็นกระบวนการอันละเอียดซับซ้อนและมีบูรณาการเพื่อวิเคราะห์ปัญหาทั้งหมดโดยส่วนรวม และสร้างคำตอบใหม่ อันก่อให้เกิดผลทาง "ระบบพลังสัมพันธ์รวม (synergistic)" ให้ผลลัพธ์ที่ได้ชนิดที่ไม่สามารถทำนายผลแบบการใช้องค์ประกอบต่างๆ ปฏิบัติงานตามเชิงเดี่ยว เทคนิคเชิง "ปัญญา" นี้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเทคโนโลยีการศึกษา ไม่มีสาขาวิชาการใดใช้มัน
............6. เทคโนโลยีการศึกษามีการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการ ในส่วนทรัพยากรการเรียนและการประกอบกิจของหน้าที่พัฒนาการ และการจัดการนั้นก่อให้เกิดเป็นี่เป็นพื้นฐานของการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการนี้อย่างชัดเจน นอกจากนี้การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการศึกษายังมีผลกระทบต่อโครงการสร้างการจัดระบบการศึกษาเพราะว่า 1) ทำให้ผลการปรับใช้เทคโนโลยีการศึกษาขยับสูงขึ้นไปคือ ระดับยุทธวิธีการกำหนดหลักสูตร (การตัดสินใจ) 2) ให้รูปแบบ 4 รูปแบบคือ ก) ทรัพยากรคน ข) ทรัพยากรอื่นที่ใช้หรือควบคุมกำกับการโดยคน ค) คนกับทรัพยากรอื่นร่วมกันรับผิดชอบหน้าที่ต่าง ๆ (รวมกันเป็นระบบการศึกราที่ใช้ระบบการเรียนการสอนกับสื่อสำเร็จรูป) ง) ทรัพยากรอื่น ๆ ตามลำพังอย่างเดียว (การเรียนการสอนกับสื่อสำเร็จรูป) 3) ทำให้เกิดรูปแบบสถาบันต่างๆ เพื่อเอื้ออำนวยการเรียน
.............7. เทคโนโลยีการศึกษามีแนวทางเพื่อการฝึกอบรม และมีขอบข่ายระบบสมรรถวิสัยการฝึกอบรม กลุ่มนี้สะท้อนให้เห็นลักษณะพิเศษภายในสาขาวิชา เช่น เกี่ยวกับระดับของการประกอบกิจในสาขาเฉพาะลักษณะพิเศษนี้คือ 1) การพัฒนาโครงการการเรียนการสอน 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อ 3) การจัดการสื่อ ระดับความซับซ้อนของภารงาน 3 ระดับได้แก่ 1) ระดับผู้ช่วย 2) ระดับช่างเทคนิค 3) ระดับผู้เชี่ยวชาญ (AECT) ได้ให้แนวทางสำหรับโครงการฝึกอบรมและการให้การรับรองแก่ช่างเทคนิค และ ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาทั้ง 3 สาขา และได้พัฒนากระบวนการเพื่อปรับใช้แนวทางนี้ด้วย)
............8. เทคโนโลยีการศึกษาได้มีมาตรการเพื่อการพัฒนา และการปรับใช้การส่งเสริมความเป็นผู้นำ การเป็นผู้นำในสาขาวิชาการจัดทำได้โดยการจัดสัมมนา หรือ การฝึกอบรมระยะสั้น นอกจากนี้เทคโนโลยีการศึกษายังให้ความรู้ในหน้าที่ความเป็นผู้นำที่บรรจุอยู่ในสาขาการศึกษา โดยโครงการความร่วมมือแบบกลุ่มเครือข่ายหรือโครงการตามความตกลงร่วมกันและสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการเผยแพร่
...........9.เทคโนโลยีการศึกษามีสมาคมและการสื่อสารในสาขาวิชาชีพ (ของสหรัฐอเมริกามีสมาคม Association for Educational Communications and Technology) และเพื่อเอื้ออำนวยต่อการติดต่อสื่อสารกับสมาชิกก็จัดให้มีวารสาร 3 ฉบับ ช่วยสนองการพัฒนาการปรับใช้ประทัดฐานและจรรยาบรรณ ความเป็นผู้นำ การฝึกอบรม และการรับรองของวิชาชีพนี้
.........10. เทคโนโลยีการศึกษาได้รับการยอมรับเป็นวิชาชีพชั้นสูงสุดสาขาหนึ่ง โดยการรับรองตัวเองจากสมาคมวิชาชีพและกิจกรรมที่ดำเนินการ
.........11.เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินงานในบริบทของสังคมอย่างกว้างขวาง ได้รับการสนับสนุนในฐานะวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับของวิชาชีพต่างๆ ที่ตระหนักในเทคนิคเชิงปัญญาและการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการตามเอกลักษณ์ของเทคโนโลยีการศึกษา นอกจากนี้ในฐานะที่เป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง เทคโนโลยีการศึกษาก็ยังเป็นที่ยกย่องในด้านต่างๆ เช่น ความเป็นอิสระทางปัญญา การแสดงออกหลักการ/กิจกรรมที่เหมาะสม ต่อต้านวัสดุปัจจัยที่ไม่พัฒนาและ แก้ไขและเพิ่มพูนเทคโนโลยีเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายแห่งความเป็นมนุษย์และชีวิตที่สมบูรณ์
...........12. เทคโนโลยีการศึกษาดำเนินการในขอบข่ายส่วนรวมทั้งหมด ของสาขาการศึกษา ในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่น ๆ นั้น จะเป็นการให้การสนับสนุนที่มีความเสมอภาคทัดเทียมกันและให้ความร่วมมือกันประสานสัมพันธ์ในสาขาวิชาชีพต่างๆ นั้น
.........13. เนื่องจากคำนิยามดังที่นำเสนอมาแล้วนี้ตรงกับทฤษฎีหนึ่งที่เกี่ยวกับการอธิบาย หรือการพิสูจน์และแก้ปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ และเนื่องจากคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ของสาขาวิชาการ เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นสาขาวิชาการหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้กระบวนการอันละเอียดซับซ้อนและมีบูรณาการ เพื่อการวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาการเรียนรู้ของมนุษย์ นอกจากนี้เนื่องจากว่าคำนิยามตรงกับข้อกำหนดเกณฑ์ความเป็นวิชาชีพชั้นสูง เทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นวิชาชีพชั้นสูงสาขาหนึ่ง ประกอบขึ้นด้วยระบบการให้การสนับสนุนการปรับใช้ทฤษฎี เทคนิคเชิงปัญญา และการประยุกต์ใช้เชิงปฏิบัติการของเทคโนโลยีการศึกษา ดังนั้นคำนิยาม เทคโนโลยีการศึกษาในฐานะเป็นทฤษฎี เป็นสาขาวิชาการ เป็นสาขาวิชาการ เป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้นจึงเป็นสิ่งที่สมเหตุผล ซึ่งตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
..........14. ผู้ที่เป็นสมาชิกสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาคือผู้ที่ประกอบกิจกรรมที่อยู่ภายในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งมีพื้นฐานหลักการในขอบข่ายทางทฤษฎีและการใช้เทคนิคเชิง "ปัญญา" ของเทคโนโลยีการศึกษา
...........15 .ผู้ที่เป็นสมาชิกวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษาจะต้องมีคุณสมบัติ ตรงตามข้อกำหนดเกณฑ์สำหรับการปฏิบัติงานในสาขาวิชาการ ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประกอบกิจในหน้าที่ตามอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา และแสดงการยอมรับมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ และได้รับการฝึกอบรมและการรับรองตามข้อกำหนดของวิชาชีพ ได้รับพัฒนาความเป็นผู้นำ เป็นสมาชิกของสมาคมวิชาชีพ และร่วมในกิจกรรมการติดต่อสื่อสารของสมาคม โดยการอ่านวารสารหรือเข้าร่วมประชุม ได้รับการรับรองว่าเป็นสมาชิกของสาขาวิชาชีพ เป็นผู้ตระหนักในวิชาชีพในฐานะเป็นวิชาชีพที่เป็นที่ยอมรับ (วินิจฉัยจากทักษะการดำเนินงานและ การยอมรับค่านิยมที่สาขาวิชาชีพกำหนด และในความสัมพันธ์กับวิชาชีพสาขาอื่นบนพื้นฐานแห่งความเสมอภาคความร่วมมือประสานสัมพันธ์กัน) บุคคลที่มีคุณสมบัติเช่นนี้เรียกว่า "นักเทคโนโลยีการศึกษา"
.........16.ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีการศึกษา หรือเทคโนโลยีการเรียนการสอนโดยส่วนรวม จะเห็นได้ว่ามีลักษณะเป็นแบบบูรณาการ ทำให้มีพื้นฐานหลักการร่วมสำหรับวิชาชีพต่างๆ ในทุกประเด็นที่บุคคลปฏิบัติงานนั้นอยู่ ให้การสนับสนุนการพัฒนาและบูรณาการเครื่องมือ วัสดุ และวิธีการใหม่ที่ดำเนินการร่วมกัน
..................เอกสารอ้างอิง
กิดานันท์ มลิทอง 2536. เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร :
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทบวงมหาวิทยาลัย

ไพโรจน์ เบาใจ 2539. แนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคต, เทคโนโลยีการศึกษา.
สมาคมการศึกษาแห่งประเทศไทย ไทยรายวันการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษา 2542.
กรุงเทพมหานคร.

เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต 2528 เทคโนโลยีทางการศึกษา ภาควิชาครุศาสตร์เทคโนโลยี.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

อรพรรณ พรสีมา 2530. เทคโนโลยีทางการสอน. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

Association for Educational Comminations and Tecolog (AECT). Educational Technology:
A Glossary of Terms. Washington D.C.: Association for Educational Communications and
Technology,1977.

Banathy, B.H. Instructional System. Belmont, California: Fearow Publishers, 1968.

Brown. James W.; Lewis, Richard B.;and Harcleroad, Fred F. AV Instruction : Technology ,
Media. And Methods . 6 th ed. New York : McGraw - Hill Book Company, 1985

Dale, Edgar. Audio - Visual Methods in Teaching. 3 rd ed. New York:
Holt, Rinehart and Winstion, 1969.

De Kieffer, Robert E. Audio - Visual Instruction. New York :
The center for Applied Research in Education, Inc., 1965.

Ely, Donald P., ed. " The Field of Educational Technology :
A Statement of Definition," Audiovisual Instruction. (October 1972 ),36-43.

Gagne, Robert M. and Briggs, Leslie J. Principles of Instructional Design. New York :
Holt, Rinehart and Winston 1974.

Good, Carter V. Dictionary of Education . 3 rd ed. New York :
McGraw - Hill Book Company, 1973.

Heinich, Robert ; Molenda, Michael; and Russell, James D. Instructional Media and the New
Technologies of Instruction. 3 rd ed. New York: John Wiley & Sons,1989

Kemp, Jerrold E. The Instructional Design Process. New York : Harper & Row, Publishers, 1985

Schramm, Wilbur. "Procedure and Effects of Msaa Communication. "Mass Media and Education.
The Fifty - Third Yearbook of the National Society for the National Society for the Study of
education, Part II . Edited by Nelson B. Henry. Chicago : University of Chicago Press, 1954.

Shannon, laude E. and Weaver, Warren. The Mathematical Theory of Communication Champaign :
the UniversityofIllinois, 1949

Wittich, Walter Arno And Schuller, Charles Francis. Audiovisual Materials :
Their Nature and Use. 4 th ed. New York : Harper & Row , 1968
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php?module=&next=next
http://edtech.edu.ku.ac.th/edtech/wbi/



2 ความคิดเห็น:

ผศ.ดร.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ กล่าวว่า...

ทำบล็อกได้ดีแล้ว เพียงแต่ถ้าปรับเนื้อหาหรือรูปภาพพื้นที่ด้านขวาให้มีความเท่ากับด้านซ้ายจะทำให้บล็อกดูสมบูรณ์และสวยงามยิ่งขึ้น

yawaiam กล่าวว่า...

ดีจังเลย มีอาจารย์คอมเมนท์ให้ คนที่เข้ามาอ่านก็ได้มีความรู้ไปด้วย สามารถนำความรู้ไปปรับปรุงบล็อกได้เลย